วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หลวงปู่ทวด

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปัตตานี

ข้อมูลประวัติ
เกิด -
บรรพชา อายุ 15 ปี
อุปสมบท ณ วัดสีมาเมือง นครศรีธรรมราช ฉายาว่า สามีราโม

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
พระหลวงปู่ทวด แม้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยหลวงปู่ทวด และหลวงปู่ทวดไม่ได้ปลุกเสกในความขลังศักดิ์สิทธิ์ของพระหลวงปู่ทวดนั้น คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ นับจากพระพิมพ์นี้ มีปฐมบทมาแต่ครั้งปี

พ.ศ.2497 ได้มีการจัดสร้างขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่ ที่ออกในนามวัดช้างให้ วัดทรายขาว วัดเมือง วัดพะโคะ เป็นต้น
ความเป็นอมตะในตำนานหลวงปู่ทวด พระหลวงปู่ทวด สิ่งที่ไม่อาจลืมเลือนควบคู่กับตำนานดังกล่าวนั้น นามที่จะเคียงคู่ตลอดไปคือ พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร ท่านเป็นพระผู้สร้างตำนานความศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดช้างให้ ที่คนส่วนใหญ่ยังระลึกถึงท่านเสมอในฐานะ ผู้ปิดทองหลังพระอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กิจกรรม

บ้านปิล๊อก

ตำนานบ้านปิล๊อก

หมู่ที่ ๑ ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
บทนำ
หมื่นภูผาแทน แผ่นทองผาภูมิ
เศกสลับปักปูม ภูมิประวัติแผ่นดิน
ที่แดนต่อแดน แคว้นถิ่นต่อถิ่นจง
เจตน์จงจิน จงใจต่อใจ
เชื่อมแผ่นดินทองผา เชื่อมมหาอาณาจักร
เชื่อมใจจงรัก สัมพันธ์ไทยพม่า
ร่วมฟ้าภูผา ร่วมชูธงชัย
ร่วมป้องผองภัย ไทยพม่าสถาพร
ณ.ดินแดนแห่งภาคตะวันตกของประเทศไทย มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งมีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นกลางระหว่างประเทศไทย กับประเทศพม่า ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพรที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติอันงดงามสัมผัสกับอากาศที่บริสุทธิ์ มีเสียงนกนานาชนิดร้องเรียกกันไพเราะเพราะพริ้ง และเพรียกพร้อมไปด้วยสัตว์ป่าทั้งน้อยใหญ่ เดินขวักไขว่ตามถนนหนทางที่เต็มไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งต้นเล็กใหญ่สลับซับซ้อนกัน ตลอดจนดอกไม้ป่าที่มีดอกงดงามส่งกลิ่นหอมอบอวน เป็นระยะๆให้ท่านได้สัมผัส
ระหว่างการเดินทางขึ้นในยามเช้า ท่านจะพบกับทะเลหมอกที่สวยงาม กลางเขื่อนวชิราลงกรณ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมายรอท่านอยู่ จึงขอเชิญชวนท่านได้มาสัมผัสกับบรรยากาศอันบริสุทธิ์ เช่นนี้ด้วยตัวท่านเองซิครับ
คำว่า “ ผีหลอก ” เป็นการเรียกของคนที่สัญจรไปมาเนื่องจากสมัยก่อนนั้น ในหมู่บ้านแห่งนี้มีเชื้อไข้มาลาเรียชุกชุมมาก ผู้คนที่ป่วยไม่สามารถไปรักษาที่โรงพยาบาลได้เนื่องจากการเดินทางไม่สะดวก จึงทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก และทำให้บนเทือกเขามีแต่ที่ฝังศพเต็มไปหมด เมื่อถึงเวลาหน้าฝนฝนจะตกชุกทำให้น้ำไหลชะหน้าดิน ซากศพที่ฝังไว้โผล่ขึ้นมาจากหลุมที่ฝังศพ จึงทำให้เห็นภาพที่ไม่น่ามองของชาวบ้าน และผู้คนที่สัญจรไปมาจึง เรียกว่า “บ้านผีหลอก” ต่อมาการเรียกชื่อหมู่บ้านก็เปลี่ยนไป จากบ้านผีหลอก ซึ่งชาวพม่า และ กระเหรี่ยงเรียกไม่ค่อยชัด จึงกลายมาเป็น “บ้านปิล๊อก”
ตำบลปิล๊อกตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศไทย เป็นพื้นที่ติดชายแดนระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศพม่า มีเทือกเตะนาวศรีเป็นแนวเขตแดน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซอนบางแห่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง ๑,๒๐๐ เมตรมีหมู่บ้านในเขตบริการปกครองจำนวน ๔ หมู่บ้าน หมู่บ้านที่ติดกับแนวชายแดน คือ หมู่ที่ ๑ บ้านอีต่อง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๘๐๐ เมตร อยู่ห่างจากอำเภอทองผาภูมิ ๗๕ กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์ ส่วนหมู่ที่ ๒ , ๓ และ๔ ใช้การเดินทางโดยเรือเป็นหลักเนื่องจากไม่มีถนนที่สามารถสัญจรไปมาได้
ตำนานเล่าขาน
บ้านอีต่อง หรือ ไนกีต่อง
คำว่า “ ไนกีต่อง หรือ นะกีต่อง ” หรือ “ ณัตเองต่อง ” เป็นภาษาพม่า ซึงแปลเป็นภาษาไทยว่า ภูเขาแห่งเทพเจ้า หรือ เขาเทวดา ต่อมาเมื่อมีคนไทยเข้ามาอยู่มากยิ่งขึ้นการเรียกชื่อหมู่บ้านก็เปลี่ยนไปชาวบ้านเหล่านั้นจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านอีต่อง ”
หมู่บ้านอีต่อง เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบหุบเขาของเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน โดยก่อนที่จะเริ่มก่อตั้งเป็นหมู่บ้าน ย้อนไปในอดีตสมัยที่ประเทศอังกฤษปกครองประเทศพม่าเป็นอาณานิคม ประเทศอังกฤษได้เปิดกิจการทำเหมืองแร่ในประเทศพม่าหลายแห่ง เพื่อผลิตแร่นำกลับไปแปรรูปในอุตสากรรมต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีด้านตะวันออกของประเทศพม่า ก็เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประเทศอังกฤษได้ดำเนินการทำเหมืองแร่ วุลแฟรม และ ดีบุก โดยเปิดทำการอยู่บริเวณเขา บูด่อง (ห่างจากบ้านอีต่องไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ๒ กิโลเมตร ) โดยมีกรรมการเป็นชาวพม่า , กระเหรี่ยง , มอญและแขกเนปาล การทำเหมืองแร่ได้ขยายตัวเข้ามาในเขตประเทศไทย โดยเริ่มมีการสำรวจพบแหล่งแร่วุลแฟรมจำนวนมากที่บริเวณหุบเขาแห่งหนึ่งชาวพม่า เรียกว่า“เขาณัตเองต่อง”(แปลว่า ภูเขาแห่งเทพเจ้า หรือ “เขาเทวดา”) หลังการสำรวจพบได้เปิดทำเหมืองแร่แล้วนำกลับไปยังประเทศพม่า
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ มีนายพรานล่าสัตว์ซึ่งเป็นชาวกระเหรี่ยง ชื่อนายพะแปร แก้วแท้ และ นายไผ่ ไม่มีนามสกุล ซึ่งเป็นราษฎรบ้านไร่ และบ้านปิล๊อกคี่ ได้ล่าสัตว์มาถึงชายแดนไทย – พม่า จนพบการทำเหมืองแร่ของชาวต่างชาติด้วย ความที่นายพรานทั้งสองคนไม่รู้ว่าสิ่งที่ชาวต่างชาติทำอยู่นั้นเป็นอะไร จึงได้เก็บตัวอย่างกลับไปที่บ้านของตน พร้อมกับเล่าเรื่องราวที่ผ่านมาให้กับผู้ใหญ่บ้านทราบ เมื่อผู้ใหญ่บ้านได้รู้เรื่องราวคาดเดาว่า ที่นายพรานลูกบ้านของตนนำมาให้ตนดูนั้น ต้องเป็นแร่ที่มีราคาดีอย่างแน่นอน ( ยังไม่ทราบว่าเป็นแร่อะไร) จึงได้รายงานให้กับเจ้าหน้าที่ของทาง อำเภอสังขละบุรี
(อำเภอทองผาภูมิในปัจจุบัน) ทราบและรายงานให้ทางจังหวัดทราบ ต่อมาในปีเดียวกันนั้น ( พ.ศ. ๒๔๘๒ ) ทางราชการได้ส่ง เจ้าหน้าที่กองช่าง กรมทรัพยากรธรณีเข้าทำการสำรวจ บริเวณที่ชาวต่างชาติทำเหมืองแร่อยู่ ชาวอังกฤษ ซึ่งได้มีการทำเหมืองแร่อยู่ในเขตไทยบางแห่งจึงหยุดกิจการ คงมีแต่ชาวต่างชาติ (พม่า,มอญ,กระเหรียง,แขก) ที่ยังดำเนินงานอยู่หลังจากเจ้าหน้าที่กองช่างฯ ได้สำรวจแล้วองค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ (สมัยนั้น ) ของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการเข้ามาเปิดเหมือง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการทำเหมืองแร่ในเขตของไทยเป็นครั้งแรกการเปิดเหมืองแร่ในครั้งนั้น ได้มีการขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ให้มาดูแลและรักษาความปลอดภัย ในช่วงนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะกรรมการได้มีปัญหาเกิดขึ้น กล่าวคือกรรมกรต่างชาติ ได้นำแร่ไปขายให้อังกฤษ ( ที่ปกครองพม่าอยู่) เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยสั่งห้าม แต่ก็ไม่ได้ผลจึงเกิดการต่อต้านจากกรรมกรต่างชาติถึงขั้นมีการใช้อาวุธเข้าต่อสู้ และมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากบริเวณการทำเหมืองแร่จึงมีสภาพเหมือน เหมืองผีหลอก ซึ่งคำว่าผีหลอก นี้ชาวต่างชาติ ( พม่า ) ได้พูดเพี้ยนไปว่า “ปิล๊อก”ซึ่งเป็นเหมืองแร่ในเวลาต่อมาการสำรวจแหล่งแร่ของเจ้าหน้าที่กองชั่ง กรมทรัพยากรธรณี ได้ขยายพื้นที่ออกไปทางด้านทิศเหนือ และ ทิศใต้จนพบแหล่งแร่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของ บ้านอีต่อง เจ้าหน้าที่กองชั่งฯ จึงได้ ชักชวนเอกชนที่รู้จักให้เข้ามาทำเหมืองหลายราย โดยเอกชนเหล่านั้นจะขออนุญาตองค์การเหมืองแร่ ซึ่งเป็น ผู้ถือประธานบัตรทั้งหมด ในพื้นที่ของตำบลปิล๊อก โดยขอเป็นรายปีโดยเกิดเป็นเหมืองแร่หลายแห่ง พร้อมกับตั้งชื่อว่า เหมืองผาแป เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พรานผาแปร ผู้ซึ่งมาพบเหมืองผาแปมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดหลายแห่ง ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านอีต่อง
การนำเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามาในเหมืองแร่ปิล๊อก ครั้งแรกนั้น เข้ามาโดยใช้ช้างบรรทุกและชักรากเส้นทางยังไม่มี การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก นอกจากนั้นไข้มาลาเรีย ก็ชุกชุม ต่อมา เจ้าหน้าที่กองชั่ง ฯ ได้ทำเส้นทางเพื่อที่จะให้รถยนต์สามารถวิ่งสัญจรได้ การทำเส้นทางเริ่มจากใช้แรงงานคน และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเครื่องจักรเมื่อการทำเหมืองแร่เป็นมาได้ไม่นานนัก พื้นที่ใกล้เคียงกับหมู่บ้านอีต่อง ได้มีการเปิดเหมืองแร่ และชุมชนขึ้นอีกสองแห่ง คือ บริเวณ เหมืองผาแฝด (ห่างจากหมู่บ้านอีต่อง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๑ กิโลเมตร ) และเหมือง ปุเมอะ ของพระปจญ ปัญจนึก (ห่างจากบ้านอีต่องไปทางทิศเหนือประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ) ถือว่าเป็นชุมชนที่เจริญ ประชาชนที่เจริญประชาชนร่ำรวยจากการค้าขายและทำแร่ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ กองโจรมอญ ประมาณ ๑๐๐ กว่าคน ได้เข้าปล้นชุมชนดังกล่าว พร้อมกันกวาดทรัพย์สินและทองรูปพรรณไปเป็นจำนวนมาก ทางราชการจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน ๑ หมวด เข้าประจำการอยู่ในหมู่บ้านนับเป็นการเข้ามาประจำการครั้งแรกของกองกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน หมู่บ้านอีต่องพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีอาณาเขตติดต่อกับสถานที่ต่างๆดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ ป่าสงวน
ทิศใต้ ติดกับ เทือกเขาตะนาวศรี
ทิศตะวันออก ติดกับ เขตป่าสงวน,บ้านอีปู่
ทิศตะวันตก ติดกับ ประเทศพม่า

หมู่บ้านบ้านแห่งน้ำร้อน
ก่อนที่จะมีการทำเหมืองแร่ในลำธารแห่งนี้ได้มีธารน้ำร้อนไหลผ่านหมู่บ้านแห่งนี้เป็นลำธารเล็กๆ ชาวพม่าที่มาทำแร่นี้ เรียกว่า “เหย่ปู่” แปลว่า “น้ำร้อน” ต่อมาคนไทยก็เรียกเพี้ยนเป็น “อีปู่”ซึ่งทั้งหมดนี้แปลเป็นภาษาไทยว่า “ หมู่บ้านแห่งน้ำร้อน ” ปัจจุบันนี้ลำธารน้ำร้อนได้หายไปจากหมู่บ้านนี้ เมื่อมีการเปิดทำเหมืองแร่จนเท่าทุกวันนี้ก็ไม่พบลำธารน้ำร้อนนี้อีกเลย ปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ในบริเวณบ้านอีปู่เป็นพื้นที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรีกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า พื้นที่ส่วนใหญ่จะมี แร่ดีบุกและแร่วุลแฟรมอยู่เป็นจำนวนมากเมื่อกรมทรัพยากรธรณีทราบ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาทำการสำรวจและจัดตั้งศูนย์ผลิตแร่พร้อมสร้างอาคารเก็บแร่พร้อมกับให้ทางตำรวจรักษาการดูแลพื้นที่บ้านอีปู่ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑ ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีราษฎรอาศัยอยู่ประมาณ ๖๐ หลังคาเรือนประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชาติพม่าที่พลัดถิ่น เข้ามาอาศัยอยู่ทำเหมืองแร่ภาษาประจำถิ่นใช้ภาษา ไทย , พม่า และ ภาษาทวาย นับถือศาสนาพุทธหมู่บ้านอีปู่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีอาณาเขตติดต่อกับสถานที่ต่างๆ
ทิศเหนือ ติดกับ เขตป่าสงวน
ทิศใต้ ติดกับ เทือกเขาตะนาวศรี
ทิศตะวันออก ติดกับ เขตป่าสงวน
ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่บ้านอีต่อง

ประวัติศาสตร์

สงครามไทยตีเมืองทวายทาง”ช่องทางเขาสูง”

ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชการที่ ๑ เกิดสงครามกับพม่าหลายครั้งครั้งสำคัญคือในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ เกิดสงคราม๙ ทัพ พม่ายกทัพมา ๙ ทัพ และคราวพม่ายกมาท่าดินแดงและสามสบ ไทยได้รับชัยชนะทั้งสองครั้ง การรบทั้งสองครั้งมีสมรภูมิที่เมืองกาญจนบุรีทั้งสิ้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ปรึกษากับ สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ให้กะเกณฑ์กองทัพยกไปตีเมืองพม่าเป็นการแก้แค้นบ้าง โดยรวบรวมทหารจำนวนพล ๘,๐๐๐ โดยกำหนดไปตีพม่าในฤดูแล้งปี พ.ศ. ๒๓๓๐ แต่ไม่ทันที่จะยกทัพไป ก็ได้ข่าวว่าพม่ายกกองทัพมา ๒ ทัพ เพื่อตีเมืองป่าซางและนครลำปาง จึงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯ ยกทัพมีจำนวนพล ๖๐,๐๐๐ ขึ้นไปรบกับพม่าทางเหนือ ครั้นเมื่อกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จยกกองทัพไปแล้ว สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็เสด็จยกกองทัพหลวงจำนวนพล ๒๐,๐๐๐ ออกจากกรุงเทพฯ ไปตีพม่าทางเมืองทวาย เพื่อแก้แค้นพม่าที่ได้มาทำความลำบากยากแค้นแสนสาหัสให้กับคนไทยดังที่ได้ตั้ง พระราชหฤทัยไว้ดังบทกลอนที่กรมพระราชวังบวรฯทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า
มันทำเมืองเราก่อนเท่าใด จะทดแทนมันให้มันสิ้น
มันจิตอหังการ์ทมิฬ อย่างล้างให้สิ้นอย่างสงกา
อันกรุงรัตนะอังวะครั้งนี้หรือ จักพ้นเงื้อมมืออย่างสงสัย
พม่าจะมาเป็นค่าไทย จะได้ใช้สร้างกรุงอยุธยา
แม้สมดังจิตไม่ผิดหมาย จะเสี่ยงทายตามบุญวาสนา
จะได้ชูกู้ยกนัครา สมปรารถนาทุกสิ่งอัน
ถ้าเสร็จการอังวะลงตราบใด จะพาใจเป็นสุขเกษมสันต์
อ้ายชาติพม่ามันอาธรรม์ เที่ยวล้างขอบขันฑ์ทุกพารา
แต่ก่อนก็มิให้มีความสุข รบรุกฆ่าฟันเสียหนักหนา
จนวัดล้างเมืองเซทุกวัดวา ยับเยินเป็นป่าทุกตำบล
มันไม่คิดบาปกรรมให้ลำบาก ต้องพลัดพรากจากกันทุกแห่งหน
มันเล่าอสัตย์ทรชน ครั้งนี้จะป่นเป็นธุลี
การยกทัพไปตีพม่า ทรงดำริว่าตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มา กองทัพไทยไม่ได้ยกไปตีเมืองพม่าเป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปี ได้แต่รบพุ่งในเขตไทย ทำให้พม่ารู้ลู่ทางภูมิลำเนาไทย แต่ไทยยังไม่รู้ภูมิประเทศของพม่าเลย อีกประการหนึ่งมีพวกมอญเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารไทยจำนวนมาก จะพากันมาช่วยเป็นกำลังให้กับฝ่ายไทยมากขึ้นและเมืองทวายอยู่ทางตอนใต้ของพม่าคงส่งกำลังมาช่วยไม่ทัน ถ้าตีเมืองทวายก็จะได้เมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด จะได้ใช้เป็นฐานที่มั่นในการรบกับพม่าต่อไป ถึงแม้ตีไม่ได้ก็จะได้ประโยชน์ที่รู้ภูมิประเทศของข้าศึกไว้คิดทำสงครามต่อไป
โปรดให้เจ้าพระยารัตนพิพิธสมุหนายก เป็นทัพหน้ายกไปก่อน เจ้าพระยามหาเสนา พระยายมราชเป็นกองหน้าทัพหลวงยกไปอีก ๒ กองพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จเป็นทัพหลวง พระยาพระคลังเป็นเกียกกายเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร( รัชกาลที่ ๒ ) เป็นยกกระบัตรเจ้าฟ้ากรมหลวงพระหริรักษ์เป็นกองหลัง จำนวนพล ๒๐,๐๐๐ เสด็จโดยกระบวนเรือกรุงเทพ ฯ ไปทางลำน้ำไทรโยค (แม่น้ำแควน้อย) ไปขึ้นบกที่เมืองท่าตะกั่วทางไปเมืองทวายมี ๒ ทาง
ทางฝ่ายใต้ เดินทางด่านบ่องตี้ เมื่อข้ามเขาตะนาวศรีแล้ว ต้องเดินผ่านเมืองตะนาวศรีก่อนแล้วจึงถึงเมืองทวาย
ทางฝ่ายเหนือ เรียกว่า “ ช่องทางเขาสูง ” เดินข้ามเทือกเขาตะนาวศรีแล้วตรงเข้าเมืองทวาย ทางนี้เป็นทางใกล้แต่เป็นสภาพป่าทางทุรกันดารเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นทางเดินเท้าของคนแถบชายแดน แต่เป็นทางลัดที่จะหลบหลีกการสกัดของทัพพม่า ในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวว่า “เขาสูงชั้น ช้างต้องเอางวงยึดต้นไม้เหนี่ยวตัวดึงขึ้นไป ช้างบางตัวเดินพลาดพลัดตกเหมตายทั้งช้างทั้งควาญก็มี ต้องปลดสัปคับและสิ่งของลงจากหลังช้างให้คนแบกขนข้ามไป ” แม้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็ต้องเสด็จลงทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาท อาศัยผูกราวตามต้นไม้ค่อยเหนี่ยวพระองค์ขึ้นไปตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยงจนถึงยอดเขาขาลงก็ต้องลงเช่นนั้นอีก จึงถึงออกพระโอษฐ์ตรัสว่า “ไม่รู้ว่าทางเดินยากถึงอย่างนี้ พาลูกหลานมาได้รับความลำบากหนักหนา” ฝ่ายพม่ายังมีกองทัพยกมาตีไทยทางหัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ที่เมืองทวาย จึงตั้งสกัดไทยเป็น ๓ ทัพ มีนัดแลงถือพล ๓,๐๐๐ อีกกองทัพหนึ่งมีกำลังพล ๑,๐๐๐ ตั้งรักษาเมืองกลิอ่อง ส่วนพระยาทวายถือพล ๔,๐๐๐ มาตั้งสกัดทางท้องทุ่งที่จะเดินจากกลิอ่องไปทวาย ตั้งค่ายหลายค่ายชักปีกกาถึงกันอย่างมั่นคง ส่วนตัวแม่ทัพใหญ่ตั้งรักษาเมืองอยู่ที่เมืองทวาย
เมื่อกองทัพไทยเดินทางลงจากเขาข้ามไป พระยาสุรเสนา พระยาอำมาตย์กองหน้าของเจ้าพระยารัตนพิพิธ ถือพล ๕,๐๐๐ ก็ยกเข้าตีค่ายพม่าตีด่านวังปอได้พม่าถอยไปเมืองกลิอ่อง กองทัพไทยยกติดตามไป ตีเมืองกลิอ่องได้ ฝ่ายกองทัพหลวงยกมาถึงด่านวังปอทราบว่ากองทัพพม่ายกกองทัพมาลายรับอยู่ที่กลางทุ่ง ก็ตรงเขาโจมตี รบกันตั้งแต่ค่ำจนรุ่ง กองทัพไทยตีค่ายพม่าได้หมด แล้วยกติดตามไปเมืองทวายในเวลาคืนนั้น ฝ่ายแม่ทัพพม่าที่รักษาเมืองทวาย เห็นกองทัพที่ยกไปแตกถอยลงมา กองทัพไทยได้ติดตามมาจวนจะถึงเมือง และไม่ไว้ใจชาวเมืองทวายว่าจะเข้ากับฝ่ายไทย จึงยกกองทัพข้ามแม่น้ำไปอยู่ฝั่งตรงข้ามทิ้งเมืองทวายไว้ให้กองทัพไทยเข้าไป เมื่อกองทัพหน้าไทยมาถึงก็ตั้งค่ายรายล้อมเมืองทวายไว้ เมื่อพม่าเห็นว่าพวกทวายไม่เข้ากับฝ่ายไทยจึงยกทัพเข้าเมือง ไทยล้อมเมืองทวายไว้เกิดขัดเสบียง จึงเกิดปัญหาว่าจะหักโหมตีเมืองทวายให้ได้โดยเร็ว หรือถอยทัพกลับ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงมีพระราชดำริว่า ถึงตีเมืองทวายได้ก็รักษาเมืองไว้ไม่ได้และจะเสียไพรพลเปล่า พอพักไพร่พล ๑๕ วัน แล้วจึงยกกองทัพกลับ กรมพระราชวังบวรฯ ปราบพม่าทางเหนือแล้วเสด็จกลับทราบว่า พระบรมเชษฐาธิราชเสด็จถอยกองทัพหลวงจากเมืองทวาย ก็ตกพระทัยนึกว่าเสียที่ข้าศึก จึงยกกองทัพไปทันเข้าเฝ้าที่ลำน้ำไทรโยค และตั้งกองทัพอยู่ที่นั้นคอยระวังเผื่อว่าพม่าจะยกตามมา เมื่อเห็นว่าพม่าไม่ยกตามมาก็เสด็จกลับพระนคร
จากการศึกษาเส้นทางการเดินทัพทางช่องทางเขาสูง จากวิทยานิพนธ์ของ ดร.สันทนีย์ ผาสุก ได้เขียนไว้ในหนังสือ Royal Simese Maps : war and Trade in Nineteenth Centure Thailand “ ซึ่งได้เขียนร่วมกับศาสตราจารย์ ฟิลิป สด็อต ที่มาของหนังสือเล่มนี้ เมื่อราวเดือน มกราคม ๒๕๓๙ ได้ทีการค้นพบแผนที่โดยบังเอิญ โดยเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังได้ค้นหาผ้าโบราญ ในพระตำหนักของพระองค์เจ้าอัพพันตรีประชา ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระบรมราชวัง เพื่อใช้จัดแสดงนิทรรศการเรื่องผ้าโบราณ ในพระราชวังดุสิต ระหว่างที่เจ้าหน้า ที่กำลังค้นหาข้าวของที่ต้องการในตู้กระจกที่ตั้งอยู่ชั้นสองของพระตำหนักก็ต้องประหลาดใจที่ได้พบผ้าฝ้าย ๕ พับเมื่อคลี่ออกก็พบกับแผนที่ซึ่งงามวิจิตรและมีสีสันงดงาม และเห็นได้ชัดว่ามีอายุเก่าแก่จึงได้พยายามเสาะแสวงหาอีกก็พบแผนที่รวมทั้งหมด ๑๗ แผ่น การค้นพบครั้งนี้ได้ทำลายความเชื่อว่า คนไทยรู้จัดทำแผนที่ทหารครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเจมส์แมคคาร์ที หรือพระวิภาคภูวดล เจ้ากรมแผนที่ทหารคนแรก และคณะได้จัดทำแผนที่สยามด้วยวิธีสมัยใหม่ แบบตะวันตก หลังจากที่ได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯแผนที่ทั้งหมดได้ถูกนำไปถ่ายเอกสารย่อ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ที่กรมแผนที่ทหารเพื่อไว้ใช้งานในแผนที่จริง การทำสำเนาเป็นงานยากลำบากมากต้องพิถีพิถันใช้เวลาเกือบ ๖ เดือน จากนั้นถึงขั้นตอนการอนุรักษ์ กำจัดเชื้อรา ฝุ่น แมลง และผนึกกับผ้าเพื่อให้แผนที่แข็งแรงทนทาน โดยใช้เวลาเกือบ ๑ ปี จากการศึกษาแผนที่ทั้งหมดก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าใครเป็นคนทำแผนที่นี้ และทำขึ้นเมือใด
แผนที่โบราณทั้ง ๑๗ ผืนนี้ได้รับการขึ้นทะเบียน เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ห้องสมุดส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ณ.อาคารชัยพัฒนา พระตำหนักจิลดารโหฐาน จากการศึกษาแผนที่โบราณนี้โดย ดร.เฮนรี่ กินสเบิร์ก ภัณฑารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญดานภาษาบริติซไลบรารี่ ได้กล่าวว่าเป็นเอกสารโบราณอย่างไตรภูมิพระร่วงเป็นตำราพิชัยสงคราม และภาพจิตรกรรมฝาผนังแผนที่ที่ น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับการเดินทัพทางช่องทางเขาสูง ในสมัยรัชกาลที่ ๑ คือแผนที่ฉบับที่ ๓ ชื่อเมืองทวาย มีขนาดกว้าง ๕๑๗ x ๓๘๘ เซนติเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ตาก และ แคว้นตะนาวศรี และแผนที่ฉบับที่๔ ชื่อแผนที่เมืองทวาย / เมาะตะมะ / การะบุรีใหม่ มีลักษณะเหมือนกับแผนที่ ๓ มีขนาด ๕๑๔ x ๔๑๖ เซนติเมตร
ดร.สันทนีย์ ได้ทำการศึกษาแผนที่พงศาวดาร พบว่าระยะทางนั้นตรงกับการตำรายกทัพ สำรวจคราวเตรียมรบพม่าในรัชการที่ ๒ และจาการศึกษาสภาพจริงในพื้นที่ โดยมีนายทหารที่เชี่ยวชายในเรื่องแผนที่แสดงถึงสันทางการเดินทัพในรัชการที่ ๑ ที่ยกทัพไปตีเมืองทวายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ ชื่อที่กล่าวไว้ในแผนที่กับชื่อในปัจจุบัน เช่นท่าตะกั่ว สระบัวสีชมพูหินขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางที่ประดิษฐานเจดีบุอ่อง เขาช้างพี บ้านพระยาสุวรรณคีรี โป่งกระทะ และเชื่อว่าช่องทางเขาสูงที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเสด็จไปตีเมืองทวายนั้นคือ บริเวณ คือ ช่องเขาหินกอง บริเวณชุมชนบ้านอีต่อง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และวังปอ คือเมืองซินบา (ZINBA) ประเทศพม่า
บ้านอีต่อง หรือ เหมืองปิล๊อก ตั้งอยู่ในเขตชายแดนไทยพม่าบนเทือกเขาตะนาวศรี อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร หมู่ที่ ๑ ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี บริเวณนี้มีช่องเขาเป็นทางเดินใช้ติดต่อกับประเทศพม่า เรียก “ช่องหินกอง” เพราะพบหินกองอยู่บริเวณช่องทางเดิน จากหน้าผาสามารถมองเห็นแผ่นดินของเมืองทวายและอ่าวเมาะตะมะ , ตะมะกะ , อันดามัน , เจดีย์เมืองกลิอ่อง ช่องนี้เป็นทางเดินติดต่อไทยกับพม่ามาตั้งแต่สมัยโบราณ
ในอดีตช่องทาง หินกองที่บ้านอีต่อง มีกองกำลังของกระเหรี่ยงซึ่งมีอิทธิพลอยู่บริเวณรอบแนวชายแดนไทย ด้านตะวันตก และจะมีทหารกระเหรี่ยงตั้งกองกำลังคอยดูแลการตรวจตราการเดินทาง ของชุมชนชาวพม่าที่นำสินค้าเข้ามาแรกเปลี่ยนกับคนไทยและจะมีการเก็บภาษีผ่านด่าน ที่เรียกกันว่าเก็บค่าก๊อก เดิมบริเวณนี้มีแร่ดีบุกและแร่วุลแฟลม เป็นจำนวนมาก จึงได้มีการทำเหมืองขึ้น อยู่ในการดูแลของ องค์การอุตสาหกรรมของเหมืองแร่ ในปัจจุบันเลิกทำการ เนื่องจากแร่ราคาตกต่ำและไม่มีผู้ซื้อ แต่ยังเห็นสภาพการทำเหมืองแร่อยู่เช่นหน้าเหมืองอาคาร เครื่องจักร และบ้านพักพนักงานคนงานที่ยังหลงเหลืออยู่ ที่หมู่บ้านนี้มีวัดเก่าแก่อยู่วัดหนึ่ง ชื่อว่าวัดเหมืองปิล๊อก พบในเสมาหินทรายและสถูปเจดีย์ ๓ แห่ง อยู่ใกล้กับพระอุโบสถสันนิฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา
ปัจจุบันได้มีการสร้างท่อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยานาคา และเยคากูล ในประเทศพม่าเข้ามาในเขตไทยที่ช่องทางหินกอง ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จยกทัพไทยไปตีเมืองทวายประเทศพม่า
ตำบลปิล๊อก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศไทยเป็นพื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่ามีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวเขตแดน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและสลับซับซ้อนหมู่บ้านที่ติดกับชายแดน คือหมู่ที่ ๑ บ้านอีต่อง ใช้การเดินทางโดยรถยนต์มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๘๐๐ เมตร แต่บางแห่งสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร อยู่หางจาก ที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ ๗๕ กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี ๒๑๐ กิโลเมตร ส่วนหมูบั้นที่ ๒ , ๓ , ๔ ใช้การเดินทางโดยเรือเพราะอยู่บริเวณเขื่อนชิราลงกรณตำบลปิล๊อกมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขาสูงชั้นมีอาณาเขตติดกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหนองลู ตำบลปรังเผล
อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลท่าขนุน ตำบลห้วยเขย่ง
อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า
ข้อดี ข้อด้อย ของตั้งชุมชน
ข้อดี
๑. มีภูเขาล้อมรอบสวยงาม
๒. อาการบริสุทธิ์เย็นสบาย
๓. มีน้ำจากภูเขาไหลตลอดทั้งปี
๔. มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง
๕. มีแร่ธาตุต่างๆมากมาย
๖. สามารถปลูกพืชเมืองหนาวได้
ข้อด้อย
๑. เป็นพื้นที่สูง
๒. ฤดูฝนฝนตกชุกและดินถล่ม
๓. ป่าไม้บริเวณชาแดนไม่สมบูรณ์
๔. ไม่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก
๕. ประชาชนในพื้นที่ไม่มีงานทำ
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของ ตำบลปิล๊อก เป็นภูเขาสูงสลับกันไปอยู่ติดกับชายแดนระหว่างประเทศไทย กับ ประเทศพม่า มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวเขตแดน ไม่มีแหล่งที่กักเก็บน้ำ เนื่องจากพื้นที่สูงต่ำตามบริเวณร่องเขามีฝายชะลอน้ำที่กักเก็บน้ำได้ไม่มากนัก และจะมีลำห้วยไหลผ่านลงไปที่เขื่อนวชิราลงกรณ
บ้านปิล๊อก ๒๓ลักษณะภูมิอากาศ
ช่วงฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม จะมีฝนตกค่อนข้างตกชุกและยาวนาน ฝนจะตกทั้งวันทั้งคืนไม่เห็นเดือนเห็นตะวันบางครั้งจะมีดินถล่มทับทางทำให้รถยนต์และรถโดยสารที่สัญจรไปมากลับมาที่หมู่บ้านไม่ได้ ต้องจอดรถทิ้งไว้กลางทางแล้วเดินกลับมาที่หมู่บ้าน ช่วงฝนตกหนักถนนลื่นต้นไม้ล้มทับทางจะทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อรถจึงไม่ควรที่จะขึ้นมาเที่ยวในช่วงฤดูฝน
ในช่วงฤดูหนาวตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม จนถึง เดือนเมษายน หมดฝนอากาศก็เริ่มหนาวทันทีอากาศจะเย็นมากบางคืนอุณหภูมิประมาณ ๔ – ๗ องศา ช่วงที่หนาวที่สุดประมาณช่วงเดือนธันวาคม ถึง เดือนมกราคม อากาศจะเย็นบางคืนนอนอยู่น้ำค้างตกใส่หน้าเลยที่เดียว และบางวันจะมองอะไรไม่เห็นเลย ก็จะมีหมอกลงหนามาก จึงทำให้เกิดทะเลหมอก
ลักษณะเด่นของอากาศ ปรากฏการณ์ต่างๆ
อากาศเย็นสบายปรากฏการณ์ที่ไดพบเห็นบ่อยๆ คือ ทะเลหมอกถ้าอากาศเปิด จะมองเห็นทะเลอันดามัน แต่จะต้องขึ้นไปบนเนินช้างศึก(เขาสูง) จึงจะมองเห็นทะเล
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ส่วนใหญ่ ประกอบด้วยทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรแร่ธาตุ
ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น ๔,๘๕๗ คน แยกเป็นชาย ๒,๐๔๕ คนหญิง ๒,๘๐๓ คน มีความหนาแน่น เฉลี่ย ๑๕ คน / ตารางกิโลเมตรแยกออกเป็นหมู่บ้านดังนี้
ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี
ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อด้าน ผีสาง ต่างๆและการไหว้เจ้าจะกระทำกันในเวลากลางคืนเป็นการไหว้เจ้าทะเล ให้ปกปักรักษาตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง ทั้งในเวลาอยู่บ้านและเวลาเดินทางและทำมาค้าขายดี จะกระทำกันปีละ ๑ ครั้งหรือมากกว่านั้นก็ได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ การทรงเจ้า ก่อนที่เทพเจ้าต่างๆจะเข้ามาประทับร่างคนทรงจะต้องมีพิธีกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการอัญเชิญเทพพระเจ้าที่ขาดไม่ได้เลยคือ เสียงดนตรี พอร่างทรงประทับทรงจะมีการร่ายรำไปทั่วบริเวณพิธีแล้วก็แสดงพิธีกรรมต่างๆ จะทำนายทายทักบุคคลทั่วไปให้ปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกจากบุคคลนั้นๆ ซึ่งพิธีดังกล่าวจะจัดกันปีละ๑ ครั้ง เป็นการอัญเชิญเทพเจ้าประทับทรงตามความเชื่อ ของประชาชนในพื้นที่ (ชาวพม่า)ไม่ว่าจะเป็นการอมเทียนที่มีไฟ เอาไฟจากเทียนมารนบริเวณที่แขนทั้งสองข้าง หรือนำมีดดาบมาแทงบริเวณท้องของร่างทรงถึงขนาดมีดงอเลยที่เดียวแต่มีดไม่เข้าสู่ร่างกายแต่อย่างใดเลย แล้วร่างทรงนั้นก็ดัดมีดกลับมาให้ตรงเหมือนเดิมตลอดจนมีการเดินลุยไฟ การกระทำแบบนี้เหมือนพิธีการทรงเจ้าของคนไทยเรานั่นเอง
อาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพที่เป็นอาชีพที่ถาวรไม่มีพื้นที่ในการทำเกษตรเพราะพื้นที่เป็นหุบเขาสูงต่ำสลับซับซ้อนกันไป จะมีแต่ รับจ้างหาของป่า,ทำไม้กวาดขาย (ทำได้ช่วงฤดูหนาวเท่านั้น) ทำแร่ (ก็ต้องหลบๆซ่อนๆทำ ทำได้ไม่เต็มที่)
ภูมิปัญญาในชุมชน
ตำรับยา
ใช้ผักคาดหัวแหวนอุดฟันเวลาปวดฟัน ใช้ใบเสือหมอบหรือใบสาบเสือใช้ปิดแผลเมือถูกของมีคมบาด ตำใบหนาดใส่เกลือนิดหน่อยเอาน้ำดื่มแก้ไข้ ต้มลูกใต้ใบใส่เกลือนิดหน่อยเอาน้ำให้ดื่มแก้ไอ
ตำรับอาหาร
แกงฮังเล ขนมจีนแกงหยวกกล้วย ใบกระเจี๊ยบต้มกะปิ ผัดกระเจี๊ยบใส่ปลากระป๋องใส่กุ้งแห้ง ต้มใบส้มป่อยและ ยำต่างๆ
ศิลปะหัตกรรม งานฝีมือ
การทำไม้กวาด
ประวัตินักภูมิปัญญา
๑. นางมิซุกาน หมู่ที่ ๑ ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี การทำไม้กวาดดอกหญ้า
๒. นางมีหมู่ที่ ๑ ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี การทำไม้กวาดดอกหญ้า
แหล่งท่องเที่ยว
๑. น้ำตกจ๊อกกระดิ่น ระยะทางจากหมู่บ้านประมาณ ๗ กิโลเมตร
๒. น้ำตกผาดิ่ง ตั้งอยู่บริเวณบ้านเขาด่าง(ปีเต็ง) ระยะทางจาก
หมู่บ้านไป ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร
๓. หมู่บ้านเหมืองแร่อีต่องดูเหมืองแร่เก่าและจุดชมวิวเนินเสาธง
๔. ชมภูมิประเทศบริเวรฐาน ตชด.ฐานช้างศึก
๕. เดินขึ้นยอดดอยเขาช้างเผือกชมทะเลหมอก
๗. น้ำตกเจ็ดมิตร ตั้งอยู่บริเวณเหมืองสัตมิตรระยะทางจากหมู่บ้าน
ประมาณ ๒๗ กิโลเมตร และอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
สภาพปัจจุบัน
การปกครอง
การปกครองแบบประชาธิปไตย
สาธานูปโภค
ตำบลปิล๊อกมีไฟฟ้าใช้จำนวน ๑ หมู่บ้าน คือ บ้านอีต่อง และบ้านอีปู่ โดยการปิโตเลียมแห่งประเทศไทยได้จัดหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และยังมีโทรศัพท์สาธารณะ และโทรศัพท์มือถือใช้ได้บริเวณบ้านอีต่อง ซึ่งรับสัญญาณ โทรศัพท์ของ GSM และ DTAC ทุกหมู่บ้านมีน้ำประปาภูเขาใช้
กิจกรรมกลุ่มในชุมชน
การเพาะเลี้ยงเห็ดโคนญี่ปุ่นและเห็ดหอมโดยได้งบประมาณจาก SML โดยประชาชนรวมกลุ่มจัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เสริมลดรายจ่ายในครัวเรือนตามเศรษฐกิจพอเพียง
ปัญหาและอุปสรรค์
๑. เป็นพื้นที่ภูเขาสูงและติดกับเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
๒. ฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน
๓. ไม้บริเวณชายแดนไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร
๔. ไม่มีพื้นที่ในการประกอบอาชีพ
๕. ประชาชนในพื้นที่ไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง